ข้อมูลทที่เกี่ยวข้อง

สรุปสถานการณ์การพัฒนาตำบลพระกลางทุ่ง
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (Swot analysis) ของตำบลพระกลางทุ่งจากการศึกษาข้อมูลสภาพทั่วไปของตำบลพระกลางทุ่งในภาพรวม ได้นำมากำหนดประเด็นเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาของตำบลพระกลางทุ่งโดยอาศัยเทคนิค Swot analysis การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) อันเป็นปัจจัยภายในหรือสภาวะแวดล้อมภายในตำบล (Internal factors) และการวิเคราะห์ถึงโอกาส (Opportunity) และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด (Threat) อันเป็นปัจจัยภายนอกหรือสภาวะแวดล้อมภายนอก (External factor) ซึ่งรายละเอียดเป็นไปตามตารางวิเคราะห์ ดังนี้
ตารางการวิเคราะห์ปัจจัยภายในของตำบลพระกลางทุ่ง
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง
(Strength)
จุดอ่อน
(Weakness)
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
-มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกันสู่ถนนสายหลัก
- มีพื้นที่ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ สปป.ลาว
-มีแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแม่น้ำนานนาชาติ คือแม่น้ำโขง
-งบประมาณในการพัฒนาตำบลไม่เพียงพอต่อการพัฒนา
-พื้นที่หมู่บ้านที่ไม่ได้อยู่ติดกับแม่น้ำโขงยังพบปัญหาน้ำไม่พอใช้ในการเกษตร
-เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งน้ำแห้งและสายน้ำตื้นเขิน
2. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่
-ขาดการจัดการบริหารน้ำในภาพรวมที่ประสิทธิภาพ
-มีปัญหาพื้นที่ทำกินเนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน
3. เศรษฐกิจ
4. เกษตร
5.อุตสาหกรรม

6. การท่องเที่ยว
-มีฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะข้าว พืชระยะสั้น
-มีฐานอุตสาหกรรมด้านครัวเรือนใน
การผลิตผ้าทอพื้นเมือง
-มีสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน
-ผลผลิตพืชระยะสั้น และข้าว ขาดการบริหารจัดการทางการตลาด
-การตลาดไม่แน่นอนและขาด
ทักษะฝีมือในการออกแบบ
-ไม่มีมาตรฐานในการรองรับนักท่องเที่ยวทำให้การเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวไม่สะดวก
7. สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและ8.การศึกษา
-มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมของชุมชนโดยเฉพาะวัฒนธรรมบุญประเพณีประจำปี
-เป็นตำบลที่มีความโดดเด่นด้านสืบสานพุทธศาสนาและประเพณี
-ประชาชนมีความสามารถด้านหัตถกรรมทอผ้าแต่การออกแบบยังขาดความรู้
-การจัดการศึกษายังไม่มีประสิทธิภาพ
ตารางการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกของตำบลพระกลางทุ่ง
ปัจจัยภายนอก
จุดแข็ง (Strength)
จุดอ่อน (Weakness)
1. ด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
สถานที่สำคัญของตำบลพระกลางทุ่งเป็นสถานที่ทองเที่ยวแบบธรรมชาติ และประเพณีประจำปี
สถานที่สำคัญของตำบลพระกลางทุ่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ห่างจากจังหวัดและขาดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
2. ด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
ในพื้นที่ตำบลพระกลางทุ่งมีแรงงานจำนวนมากที่จะสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมทั้งเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์และมีอุตสาหกรรมครัวเรือนประเภทต่างๆที่เป็นที่ยอมรับของตลาดเช่นหัตถกรรมการทำเครื่องเงินทอผ้า เป็นต้น
แรงงานและวัตถุดิบที่เหลือใช้ของตำบลพระกลางทุ่งมีจำนวนมากแต่ยังขาดการนำวัสดุที่เหลือใช้มาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชน
3. เศรษฐกิจเกี่ยวกับการเกษตร
สภาพพื้นที่ตำบลพระกลางทุ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าว พืชระยะสั้น (ผักโหระพา ข้าวโพด เป็นต้น)
ผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำเนื่องจากผูกขาดจากพ่อค้าคนกลางรวมถึงประชาชนขาดความรู้เรื่องระบบสหกรณ์และต้นทุนการผลิตสูง
4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างต่อเนื่องเส้นทางคมนาคมมีการเชื่อมโยงถึงกันระหว่างหมู่บ้านและตำบลถึงอำเภอถนนสายหลักสู่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3
พื้นที่ตำบลพระกลางทุ่งประกอบด้วย 16 หมู่บ้าน มีพื้นที่สำหรับการพัฒนาอีกมาก
5. ด้านสังคม วัฒนธรรม
ตำบลพระกลางทุ่งมีศิลปวัฒนธรรมและหัตถกรรมควรแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ให้คนรู้จักวิถีชีวิตที่เรียบง่ายยึดมั่นในจารีตประเพณีและวัฒนธรรมการศึกษาของเด็กมีการขยายตัวเด็กเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีการจัดตั้งชุมชนมีความเข้มแข็งออกตรวจเวรยามช่วยเหลือทางราชการตลอดจนถึงการบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขมีการสนับสนุนงานสาธารณสุขป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและพาหะนำโรค
เยาวชนรุ่นหลังไม่มีการสืบสานศิลปวัฒนธรรม วิถีชิวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงจากชุมชนพื้นเมืองเข้าสู่ระบบวิถีชีวิตแบบเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
6. ด้านการเมือง
- นักการเมืองมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและประชาชนความขัดแย้งทางการเมืองระดับผู้บริหารมีน้อย
- ประชาชนมีความยึดมั่นในตัวผู้นำท้องถิ่นมีความรักความผูกพันกับท้องถิ่นสูงประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองในระดับสูง
ประชาชนยังขาดความรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
7. ด้านการศึกษา
-ตำบลพระกลางทุ่งมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่เป็นแหล่งศึกษาให้กับเด็กได้อย่างทั่วถึง
-ผู้ปกครองมีค่านิยมส่งเด็กไปเรียนต่อในต่างพื้นที่
-ระเบียบกฎหมายยังไม่เอื้อให้ อปท.ดำเนินการได้อย่างเต็มที่


ความต้องการ

ลำดับที่
โครงการ
เหตุผล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างทั่วตำบล
-เกิดความไม่ปลอดภัยในการสัญจรไป-มา ในเวลากลางคืน  
-  ใช้งบประมาณในการก่อสร้างมากกเกินศักยภาพของ อบต.
- การไฟฟ้า
2.
โครงการขุดลอกหนองสาธารณะในตำบล
- ประชาชนขาดแหล่งน้ำในการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง
- ใช้งบประมาณในการก่อสร้างมากกเกินศักยภาพของ อบต.
กรมชลประทาน
3.
โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำบ้านหลักศิลา
- บริเวณหมู่บ้านมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง แต่ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการเกษตรได้ หากมีสถานีสูบน้ำจะทำให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตรได้เพียงพอ
- ใช้งบประมาณในการก่อสร้างมากกเกินศักยภาพของ อบต.
กรมลประทาน
4.
โครงการซ่อมแซมถนนลาดยาง สายบุ่งฮี – หนองกุดแคน
- การสัญจรไป-มาลำบาก ผิวจราจรเป็นหลุม บ่อ จำนวนมาก
- ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.
ทางหลวงชนบท
5.
โครงการวางท่องระบายน้ำลงแม่น้ำโขง
- ประชาชนประสบปัญหา น้ำท่วม และน้ำท่วมขัง ในช่วงน้ำหลาก
- ใช้งบประมาณในการก่อสร้างมากกเกินศักยภาพของ อบต.
กรมชลประทาน
6.
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง
- เพื่อป้องกันน้ำในแม่น้ำโขงกัดเซาะตลิ่งชำรุดเสียหาย จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราษฎรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง
กรมชลประทาน
7.
โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำแบบมีฝาปิดภายในตำบล
- เนื่องจากในช่วงฤดูฝน หรือฤดูน้ำหลากของทุกปีประชาชนในเขตพื้นที่ของตำบลพระกลางทุ่งได้ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากบางพื้นที่ยังไม่มีการก่อสร้างรางระบายน้ำเพื่อรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนจึงเป็นเหตุให้บ้านเรือนราษฎร์ได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมเป็นอย่างมาก
กรมทางหลวง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น