อำเภอธาตุพนม

ข้อมูลอำเภอธาตุพนม



สภาพทั่วไปอำเภอธาตุพนม
ประวัติความเป็นมาของอำเภอธาตุพนม

บริเวณอำเภอธาตุพนมในปัจจุบันเดิมมีชื่อว่าภูกำพร้าเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผาหนึ่ง
ซึ่งมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ตามประวัติบริเวณองค์พระธาตุพนมเป็นที่ตั้งเมืองศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีโคตรบูร ต่อมาเมืองศรีโคตรบูรย้ายไปตั้งอยู่ที่อื่น ชุมชนรอบองค์พระธาตุพนมก็ยังเป็นชุมชนใหญ่ดูแลรักษาองค์พระธาตุพนม
ในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ ชุมชนธาตุพนมได้จัดเป็นบริเวณธาตุพนม
ขึ้นกับมณฑลลาว-พวน มีหน้าที่ดูแลปกครองจากมุกดาหารถึงนครพนม ท่าอุเทน และเมืองไชยบุรี รวมทั้งเขตเรณูนครด้วย ต่อมา พ. .๒๔๔๐ ได้มีการจัดตั้งจังหวัด อำเภอ หมู่บ้านบริเวณธาตุพนมเดิมขึ้นกับอำเภอเรณูนครและในปลายปี พ. .๒๔๔๙ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จมาพักค้างคืนที่บริเวณข้างพระธาตุพนม ๑ คืน และเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร จึงได้ประกาศตั้งอำเภอธาตุพนมขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นต้นมา

สภาพทางภูมศาสตร์

 ลักษณะที่ตั้ง อำเภอธาตุพนม ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ด้านทิศใต้ของจังหวัดนครพนม เป็นอำเภอชายแดน มีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีลักษณะเป็นแนวยาวเลียบไปตามแม่น้ำโขง ยาวประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครพนม ประมาณ ๕๒ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร ประมาณ ๗๖ กิโลเมตร ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ประมาณ ๗๐๗ กิโลเมตร
 ขนาดและรูปร่าง อำเภอธาตุพนมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๕๗.๗๖ ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ ๒๒๓,๖๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ๒๔๖.๒๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๕๙,๙๓๓ ไร่ เป็นพื้นที่ ป่าไม้ ๘๑.๑๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๐,๖๘๖ ไร่ เป็นพื้นที่อื่นๆ ๓๐.๓๗ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๘,๙๘๑ ไร่
การคมนาคม
อำเภอธาตุพนม สามารถติดต่อกับ อำเภอจังหวัด โดยอาศัยทางหลวงหมายเลข ดังนี้
- ติดต่อกับจังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยถนนหลวงหมายเลข 212
- ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร โดยทางหลวงหมายเลข 223
สภาพพื้นที่
มีเนื้อที่ประมาณ 292.085 ตารางกิโลเมตร หรือเนื้อที่ประมาณ 182,553 ไร่ เป็นอำเภอ
ชายแดนมีอาณาติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีลักษณะเป็นแนวยาวเลียบไปตามแม่น้ำโขง
ยาวประมาณ 40 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดนครพนม ประมาณ 52 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร
ประมาณ 707 กิโลเมตร มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย คือ แม่น้ำโขง ลำน้ำก่ำ ลำน้ำบังฮวก ห้วยแคน ห้วย
เชือม ห้วยแง่ม ห้วยเวิน ร่องระเบา อ่างเก็บน้ำร่องกระเบาอ่างเก็บน้ำดงหมู อ่างเก็บห้วยแมด นอกจากนั่น
ยังมี ลำธารอีกหลายสายกล่าวได้ว่าเป็นอำเภอที่มีความสมบูรณ์อีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม                                                                          


คำขวัญอำเภอธาตุพนม

ไหว้พระธาตุพนม ชมวัตถุโบราณ

มันแกวรสหวาน สำราญชายโขง

จรรโลงวัฒนธรรม



สภาพการปกครอง

การปกครอง
พื้นที่การปกครองของอำเภอธาตุพนม แบ่งการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 136 หมู่บ้าน
มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑๒ แห่ง 5 เทศบาลตำบล 7 องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบไปด้วย
จำนวน ๑๒ ตำบล คือ
1. ตำบลธาตุพนม
2. ตำบลฝั่งแดง
3. ตำบลโพนแพง
4. ตำบลพระกลางทุ่ง
5. ตำบลนาถ่อน
6. ตำบลแสนพัน
7. ตำบลดอนนางหงส์
8. ตำบลน้ำก่ำ
9. ตำบลอุ่มเหม้า
10. ตำบลนาหนาด
11.ตำบลกุดฉิม
12.ตำบลธาตุพนมเหนือ
จำนวนเทศบาล ได้แก่
1. เทศบาลตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลธาตุพนม เทศบาลตำบลธาตุพนมใต้ เทศบาล
ตำบลฝั่งแดง เทศบาลตำบลนาหนาด เทศบาลตำบลน้ำก่ำ

จำนวนองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่
1. อบต.อุ่มเหม้า
2.อบต.พระกลางทุ่ง
3.อบต.ดอนนางหงส์
4.อบต.แสนพัน
5.อบต.นาถ่อน
6. อบต.โพนแพง
7.อบต.กุดฉิม                                                                                        ประชากร
อำเภอธาตุพนม มีประชากรทั้งสิ้น 83,244 คน เป็นชาย 41,487 คน หญิง 41,757
จำนวนบ้าน 22,895

สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

          สภาพเศรษฐกิจ อาชีพที่สำคัญ  ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอ  มีอาชีพทางการเกษตร  ได้แก่  ทำนา  ทำไร่  และปลูกพืชผักต่าง ๆ สามารถจำแนกอาชีพต่าง ๆ ได้ดังนี้
-  อาชีพการเกษตร                        ร้อยละ  95.00
-  อาชีพค้าขาย                             ร้อยละ     1.30
-  อาชีพรับจ้าง                             ร้อยละ     1.70
-  อาชีพรับราชการ                        ร้อยละ     2.00
-  อาชีพอื่น ๆ                              ร้อยละ     0.52
สภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอธาตุพนม  ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม  ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรเท่ากับ  8,788  บาท
          สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม
ในอดีตชุมชนธาตุพนม เป็นสังคมแบบโบราณ (Pre-modern) มีความเชื่อในหลักไสยศาสตร์ เรื่องผี บาป บุญ คุณ โทษ ลักษณะสังคมที่มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถึงวันพระก็จะไปทำบุญเพื่อที่จะให้จิตใจใสสะอาด การติดต่อสื่อสารระหว่างคนในชุมชนจะเป็นการไปมาหาสู่กันโดยตรง ส่วนด้านการศึกษาชาวชุมชนธาตุพนมส่วนใหญ่จะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนเป็นครูอาจารย์ที่วิทยาลัยครู (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ) และชุมชนมีการติดต่อสัมพันธ์กันกับชาวลาวชาวญวน เป็นอย่างดี ซึ่งมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน (ช่วงนั้นยังไม่มีความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยม)


                   ต่อมาเมื่อกระแสทุนนิยม (Capitalism) ที่รัฐบาลส่วนกลางได้นำเข้ามาจากประเทศตะวันตก ผ่านนักวิชาการซึ่งถูกส่งไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา และประเทศตะวันตกอื่นๆ กลับมากำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนธาตุพนมเป็นอย่างมาก เพราะโครงสร้างของทุนนิยมมีปรัชญาในการขยายสาขาให้มากที่สุด เพื่อให้ชนชั้นนายทุนได้กำไรสูงสุดต้นทุนต่ำสุด (จากการขูดรีดแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการขูดรีดเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา) นั้น
                   ทำให้โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไป ชาวชุมชนธาตุพนมส่วนใหญ่ เริ่มมีค่านิยมนับถือวัตถุหรือ คนที่มีเงิน มากกว่าการนับถือคนดี มีศีลธรรม เป็นสังคมแห่งการบริโภคสินค้าจากภาคอุตสาหกรรมของกรุงเทพฯ มากกว่าการพึ่งพาตนเอง

แหล่งท่องเที่ยว

1.  องค์พระธาตุพนม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมศรีโคตรบูร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
2. พระธาตุมรุกขนคร วัดมรุกขนคร ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม
3. แก่งคับพวง บ้านคับพวง หมู่ที่ ๔ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
4. หาดแห่ บ้านน้ำก่ำ หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
5. หาดทรายทอง ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม

ของฝากจากธาตุพนม

1.  บูชาพระธาตุพนมหนังสือประวัติพระธาตุพนมฯ ฯลฯในบริเวณวัดพระธาตุพนม
2. สินค้าโอท๊อป กาละแม เค็มหมากนัด หมูยอ เครื่องประดับหิน หมอนขิต หมอนฟักทอง การบูรเครื่องจักรสานตะกร้าหวาย กระปุกออมสินทำด้วยไม้ไผ่ ฯลฯ (มีจำหน่ายในบริเวณวัดพระธาตุพนม
ด้านทิศใต้)
3. การผลิตมีด- พร้าที่ขึ้นชื่อ ที่ตำบลนาถ่อน
4. การผลิตกาละแม เครื่องประดับหินที่ ตำบลธาตุพนม
5. การผลิตลวดหนามผ้าใบ - เครื่องอบสมุนไพร ที่ตำบลโพนแพง
6. การผลิตทอผ้าพื้นเมืองที่ ตำบลอุ่มเหม้า
7. การทอผ้าตัดชุดศรีโคตรพร้อมตัดเย็บการบูรเครื่องจักรสานตะกร้าหวายปลาสวยงาม
ที่ตำบลพระกลางทุ่ง
8. การผลิตกระเทียมดองกระเทียมสดหอมหัวแดง ที่ตำบลแสนพัน
9. การผลิตรองเท้าฟองน้ำหมอนขิตหมอนฟักทอง สบู่เหลวจากธรรมชาติที่ตำบลกุดฉิม
10 การผลิตดอกไม้จากใยบัว ที่ตำบลฝั่งแดง
ประกอบอาชีพ

อาชีพหลัก ได้แก่ ๑. เกษตรกรม ๒. ค้าขาย
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ๑. ข้าว ๒. ยางพารา ๓.มันแกว ๔.พืชผัก

การสร้างความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ

1.การเสริมสร้างเศรษฐกิจชายแดน
- การเปิดจุดผ่อนปรน ตลาดนัดไทย ลาว ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี มีเงินหมุนเวียน
ในการค้าขายสัปดาห์ละกว่า 1 ล้านบาท
- การเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งสองฝั่งได้ข้ามไป-มา ในงานนมัสการพระธาตุพนม
เป็นเวลา 9 วัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการค้าขายและส่งเสริมการท่องเที่ยว ในแต่ละวันจะมี
นักท่องเที่ยวมาเที่ยวนับแสนคน

2.การส่งเสริมมนุษยธรรม
- เปิดโอกาสให้ประชาชน สปป.ลาว ที่เจ็บป่วยเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระ
ยุพราชธาตุพนม ให้ความเป็นมิตรต่อประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน
3.การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี
- งานนมัสการพระธาตุพนม เปิดจุดผ่อนปรนให้ประชาชนไทย ลาว ข้ามไป-มา
ได้เป็นเวลา 9 วัน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างประชาชนสองฝั่งโขง
- จัดงานบุญประเพณีหรืองานสำคัญทางศาสนา
- จัดงานเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง และงานส่งเสริมด้าน
วัฒนธรรมอื่นๆในพื้นที่
4.การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน
- จัดตั้งอาสาสมัครประชาชนและชุดปฏิบัติการฝั่งโขงขึ้นร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อ
ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชนมีความรักและหวงแหนผืนแผ่นดินไทย มีความ
สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- จัดชุดเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้ายาเสพติด การลักลอบเข้าทำงานของแรงงานต่าง
ด้าว ลักลอบลำเลียงไม้พยุงและลักลอบการค้าสุนัขข้ามแดน
5.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- โดยสภาพพื้นที่ทุกหมู่บ้านจะมีพื้นที่ป่าชุมชน หรือป่าช้าสาธารณะอยู่ทุกหมู่บ้าน
จึงได้จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ป่าขึ้นทุกหมู่บ้าน ปลุกระดมสร้างจิตสำนึกให้ประชาทุกตำบลทุกหมู่บ้านมี
ความรู้สึกรักและหวงแหนที่สาธารณะประโยชน์ให้เฝ้าคอยระวังรักษาและต่อต้านผู้บุกรุกที่สาธารณะประโยชน์
อย่างจริงจัง เพื่อรักษาไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- ณรงค์ปลูกป่าในที่สาธารณะ และปลูกป่าตามโครงการ 1 หมู่บ้าน 80 ต้น 80 พรรษา
และปลูกป่าประชาอาสา 800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหาราชินี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินี
นาถ

การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน

          จัดการประชุมรักษาความสงบเรียบร้อยไทย-ลาว ระหว่างอำเภอธาตุพนม และเมืองหนองบก แขวงคำม่วน ทุกปีเป็นประจำ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น