ตำบลพระกลางทุ่ง

ข้อมูลตำบลพระกลางทุ่ง
สภาพทั่วไป

ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป

                  ตำบลพระกลางทุ่ง  เคยเป็นอาณาจักรศรีโคตรบูรที่เจริญรุ่งเรืองมาก  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ซึ่งเมื่อมาตั้งเมืองอยู่ที่นี่ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  มรุกขนครโดยมีเจ้าผู้ครองนครชื่อพระบรมราชา  (กู่แก้ว  .. 2321 – 2333) ตรงกับสมัยกรุงธนบุรี เมืองมรุกขนครแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นศูนย์กลางการเดินทาง  การค้า  การเมืองและด้านพุทธศาสนาในอาณาเขตนี้ชนเผ่าชาวมรุกขนครมีความรักสามัคคีกัน มีความขยันขันแข็ง อดทนและซื่อสัตย์  ซึ่งอาณาจักรศรีโคตรบูรเป็นอาณาจักรอันเก่าแก่และ ยึดมั่นในหลักพุทธศาสนาและศีลธรรมอันดีงาม  เมืองศูนย์กลางอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรีบุเรืองในปัจจุบัน
                    ชุมชนมรุกขนครแห่งนี้อยู่กันอย่างสงบสุขร่มเย็น แต่ต่อมากระแสน้ำโขงได้กัดเซาะริมตลิ่งพังจึงได้ย้ายเมืองขึ้นไปทางทิศเหนือไปตั้งอยู่บ้านหนองจันทร์ และย้ายขึ้นไปตั้งที่อำเภอเมืองนครพนม จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  นครพนมแต่ชุมชนชาวมรุกขนครบางส่วนยังคงอาศัยอยู่ที่นี่  และเป็นชาวพระกลางทุ่งในปัจจุบัน
                      ตำนานกล่าวว่าดินแดนแห่งนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนนานกว่า  2,000  ปี  เริ่มแรกมีพุทธศาสนิกชนได้มาพักแรมและได้มาตั้งชุมชน  เพื่อมาก่อสร้างและบูรณะองค์พระธาตุพนม ซึ่งได้นำเอาดินจากบริเวณนี้ทำอิฐมอญเพื่อไปสร้างและบูรณะองค์พระธาตุพนม ซึ่งได้ขนอิฐไปโดยเกวียนจนเกวียนหัก และสถานที่เกวียนหักนั้นได้เรียกว่าหนองเกวียนหักในปัจจุบัน
                      พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมสร้างองค์พระธาตุพนมส่วนหนึ่ง มีจิตศรัทธาอันแรงกล้า ได้ร่วมสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นบริวารขององค์พระธาตุพนมและเพื่อเฝ้าดูแลรักษาองค์พระธาตุพนม  เช่น  พระโกฏิ (องค์พระที่มีน้ำหนัก  1,200  กิโลกรัม  จึงเรียกตามหน่วยนับน้ำหนักตามโบราณเป็นหนึ่งโกฏิประดิษฐาน  ณ  วัดบุ่งฮี  มีความศักดิ์สิทธิ์มาก  เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชุมชนและพุทธศาสนิกชนทั่วไป และชุมชนยังได้สร้างพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ  เพื่อเป็นบริวารของพระธาตุพนม โดยสร้างไว้บนจอมปลวกบริเวณทั่วไปตามทุ่งนาที่ว่าง  จึงเป็นที่มาของชื่อตำบลว่า  พระกลางทุ่งหมายความว่า พระพุทธรูปอยู่กลางทุ่งนา แต่ปัจจุบันได้สร้างวัดและกำแพงล้อมรอบองค์พระไว้แล้ว (วัดพระกลางทุ่ง)
          ที่ตั้ง
          ตำบลพระกลางทุ่ง  อยู่ห่างจากตัวอำเภอธาตุพนมทางทิศเหนือ  ประมาณ 4  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวั นครพนมทางทิศใต้ประมาณ 43  กิโลเมตร โดยมีอาณาเขต  ดังนี้
ทิศเหนือ                  ติดกับตำบลแสนพัน  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม
ทิศใต้                      ติดกับตำบลธาตุพนมเหนือ  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก             ติดกับแม่น้ำโขง  ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
ทิศตะวันตก               ติดกับตำบลหนองย่างชิ้น  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม
           พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง
                      มีพื้นที่ทั้งหมด  31  ตารางกิโลเมตร  จำนวน 19,375  ไร่ แยกเป็น  พื้นที่ทำการเกษตร  จำนวน  14,651  ไร่  ซึ่งประกอบด้วย
                             -  ที่นา                     จำนวน           13,405                    ไร่
                             -  ที่สวน                    จำนวน                467                   ไร่
                             -  ที่ไร่                       จำนวน                637                  ไร่
                             -  อื่น ๆ                     จำนวน                142                  ไร่
            ภูมิประเทศ 
                      ตำบลพระกลางทุ่ง  เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีพื้นที่บางส่วนมีน้ำท่วมในบางปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง  ซึ่งเป็นเขตแบ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทย ลาว

           จำนวนครัวเรือนและประชากร



                      ตำบลพระกลางทุ่ง มี 2,250  ครัวเรือน  มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน  7,477  คน แบ่งเป็น  ชาย   3,724  คน หญิง   3,753  คน  โดยแยกได้ดังนี้

หมู่ที่
ชื่อบ้าน
จำนวนประชากร
จำนวนครัวเรือน
ชื่อผู้นำ
ชาย
หญิง
รวม
1
บ้านพระกลางทุ่ง
135
127
262
97
นายสรยุทธ ธงยศ(กำนัน)
2
บ้านพระกลางท่า
226
249
475
129
นายศุภกิจ    ถาวร
3
บ้านบุ่งฮี
455
421
876
339
นายนพรัตน์   กิมะโน
4
บ้านหลักศิลาเหนือ
214
249
463
128
นายพุทธชัย    เกษรราช
5
 บ้านธาตุน้อย
353
373
726
222
นายหนูผาด   หล้าบา
6
 บ้านนาทาม
293
282
575
160
นายทองแดง   บุตรราช
 7
บ้านโพนแพง
268
254
522
136
นายศักดิ์สิทธิ์   มุกดาหาร
8
บ้านหนองกุดแคน
194
183
377
108
นายณรงค์     ศิริวงค์
9
บ้านเหล่าน้อย
188
207
395
119
นายธนา    ฝ่ายทะแสง
10
บ้านหลักศิลาใต้
350
363
713
196
นายพินิจ      คัดถาวร
11
บ้านศรีบุญเรือง 
244
264
508
148
นายศักดิ์สิทธิ์    สารสิทธิ์
12
บ้านหลักศิลาทุ่ง
203
194
397
129
นายไพบูลย์  วงศ์กาฬสินธุ์
13
บ้านพระกลางใต้  
182
183
365
97
นายจิรวัฒน์   ไชยพร
14
บ้านเหล่ากกตาล 
119
127
246
66
นายสมเดช  โพธิสา
15
บ้านหนองกุดแคนเหนือ
215
202
417
108
นายมนัส    ถาวร
16
 บ้านศิลามงคล
85
75
160
68
นายสมมิตร   อรรคศรีวร
รวม
3,724
3,753
7,477
2,250

 ข้อมูล ณ วันที่ 20 เดือนพฤษภาคม  2556  จากฝ่ายทะเบียนอำเภอธาตุพนม



สภาพทางเศรษฐกิจของตำบลพระกลางทุ่ง


               การประกอบอาชีพของประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น การทำนา,ทำสวน,   ทำไร่และเลี้ยงสัตว์น้ำ  รายได้เฉลี่ยทั้งตำบล จำนวน  41,461.13  บาท/ปี/คน
               หน่วยธุรกิจในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง  ประกอบด้วย        
                      -  สำนักงานสหกรณ์การเกษตร                       จำนวน                      1        แห่ง
                      -  โรงสีข้าวขนาดใหญ่ของสหกรณ์การเกษตร       จำนวน                      1       แห่ง
                      -  โรงงานอุตสาหกรรมในครัวเรือน(ทำอิฐเผา)      จำนวน                      5       แห่ง
                      -  ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่                                   จำนวน                      3       แห่ง
                      -  ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก (ปั๊มหลอด)                      จำนวน                      5      แห่ง
                      -  โรงสีข้าวในครัวเรือน                                  จำนวน                    16      แห่ง
                      -  ร้านค้าเอกชน                                           จำนวน                    57      แห่ง
                      -  ซุ้มขายของริมถนน                                    จำนวน                     23     แห่ง
                      -  ศูนย์สาธิตการตลาด                                   จำนวน                       1     แห่ง
                      -  ธนาคารข้าว                                            จำนวน                       5      แห่ง
                      -  โรงแรมรีสอร์ท                                         จำนวน                       4      แห่ง
                      -  ร้านซ่อมรถ                                             จำนวน                     11      แห่ง
                      -  ร้านขายต้นไม้                                          จำนวน                     3        แห่ง
                      -  ร้านเสริมสวย                                           จำนวน                     5        แห่ง
                      -  เสาโทรศัพท์                                            จำนวน                     3        เสา
                      -  คลินิก                                                    จำนวน                     1        แห่ง
                      -  บริการสระว่ายน้ำ                                     จำนวน                     1        แห่ง


สภาพทางสังคม
               ด้านการศึกษา  ประกอบด้วย   
                      -  โรงเรียนประถมศึกษา                               จำนวน              5               แห่ง
                         (เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา         จำนวน              1               แห่ง)
                      -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                  จำนวน               5               แห่ง
                      -  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                  จำนวน              16              แห่ง
               สถาบันและองค์การทางศาสนา  มีดังนี้  
                      -  วัด                                                  จำนวน                     10     แห่ง
                      -  สำนักสงฆ์                                         จำนวน                      2      แห่ง
                สาธารณสุขชุมชน  ประกอบด้วย        
                      -  สถานีอนามัยประจำตำบล                         จำนวน                      1      แห่ง
                      -  มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                   จำนวน                     16     แห่ง
                      -  มีส้วมราดน้ำ  คิดเป็นร้อยละ  100% ครบทุกหลังคาเรือน
                ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                      -  สถานีตำรวจภูธร                                  จำนวน                      1      แห่ง
                      -  กองร้อย  ตชด.235                              จำนวน                      1      แห่ง
                      -  ศูนย์  ศสส..                                      จำนวน                      1      แห่ง
                      -  ศูนย์  ศตส..                                      จำนวน                     16     แห่ง
                      -  หน่วยงานสนับสนุนเฉพาะกิจ                   จำนวน                      1      แห่ง
                      -  หน่วยเรือ  นรข.                                   จำนวน                      1      แห่ง

การบริการพื้นฐานในเขตตำบลพระกลางทุ่ง
               การคมนาคม  มีถนนไปมาระหว่างหมู่บ้านสะดวกสบาย  ถนนในหมู่บ้านเป็นถนน  คสล.  เกือบทุกสาย  มีบางแห่งที่ยังเป็นถนนลูกรัง  มีถนนที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าทางการเกษตรซึ่งเป็นถนนลูกรังและถนนดินบางสาย  มีถนนชยางกูรสี่เลนผ่านพื้นที่ตำบลซึ่งเป็นถนนระหว่างจังหวัดนครพนม  ไปธาตุพนม  มุกดาหาร  ยโสธร  อำนาจเจริญ  และอุบลราชธานี   
                การโทรคมนาคม      
                      -  มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน                 จำนวน                     19                แห่ง
                      -  มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ                            จำนวน                     18                ตู้
               การไฟฟ้าของรัฐ  ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าของรัฐใช้  ประชาชนในหมู่บ้านของตำบลพระกลางทุ่งไม่มีปัญหาในการใช้ไฟฟ้า  ในส่วนของราษฎรที่แยกครอบครัวไปอยู่ที่ทุ่งหรือในสวน  ก็มีการขอขยายเขตไฟฟ้าไปให้ทั่วถึง
                 แหล่งน้ำธรรมชาติ  ประกอบด้วย       
                      -  ลำน้ำ  ลำห้วย                          จำนวน            13              สาย
                      -  บึง  หนองน้ำ  สระ                     จำนวน            40              แห่ง
                      -  แม่น้ำโขง                                จำนวน              1              สาย

                แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น    
                      -  บ่อน้ำตื้น                                    จำนวน             68               แห่ง
                      -  บ่อบาดาล                                   จำนวน               8               บ่อ
                      -  บ่อตอก                                      จำนวน             89               บ่อ
                      -  ประปาหมู่บ้าน                             มีจำนวน              4             แห่ง
                      - โรงกรองน้ำประปาส่วนภูมิภาค           จำนวน               1              แห่ง   
                ประเภทภาชนะเก็บกักน้ำ
                      -  ถังเก็บน้ำฝน  ขนาด  4  ลบ..                  จำนวน                24           ที่
                      -  ถังเก็บน้ำฝน  ขนาด  6  ลบ..                  จำนวน                  4           ที่  
                      -  ถังเก็บน้ำฝน  ฝ.33                               จำนวน                  2           ที่
                      -  ถังเก็บน้ำฝน  ฝ.99                               จำนวน                  7           ที่
                      -  ถังเก็บน้ำฝน  ขนาด  20  ลบ.                 จำนวน                11           ที่
                      -  โอ่ง  ขนาด  2,000  ลิตร                        จำนวน                95           ใบ

ข้อมูลอื่น ๆ
               ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่    
                      -  ที่ดินสาธารณประโยชน์                 จำนวน              615           ไร่
                      -  หาดทรายทอง                           จำนวน                1            แห่ง  
                มวลชนจัดตั้ง
                       -  ลูกเสือชาวบ้าน                         จำนวน             337            คน
                       -  ไทยอาสาป้องกันชาติ                  จำนวน            335             คน
                       -  สมาชิก  อปพร.                        จำนวน              146           คน
                       -  อพป.                                     จำนวน              690           คน
                       -  อสม.                                      จำนวน             184            คน
                       -  คณะกรรมการเยาวชน                 จำนวน              186           คน
                       -  ประชาคมหมู่บ้าน                      จำนวน              16             หมู่บ้าน
               การรวมกลุ่มของประชาชน    
                      -  กลุ่มอาชีพ                                  จำนวน                32           กลุ่ม
                      -  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต             จำนวน               4             กลุ่ม
                      -  กลุ่มอื่น ๆ                                   จำนวน               6             กลุ่ม
 โครงสร้างการบริหารงาน
          ฝ่ายบริหาร   กำลังดำเนินการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง
          ฝ่ายสภา ฯ ประกอบด้วย
                   -  สมาชิก สภา ฯ  จำนวน 32 คน
                   -  นายโพธิ์สวาง พลชาประธานสภา ฯ 
                   -  นายนิคมศักดิ์ อรรคศรีวร  รองประธานสภา ฯ
                   -  นางสาธินี จันทร์แดง  เลขานุการสภา ฯ
          บุคลากรประกอบด้วย
-           พนักงานส่วนตำบล                     จำนวน  14  คน
-           พนักงานจ้างและลูกจ้างทั่วไป        จำนวน   5  คน
-           นายปราณี  นันศรีทอง                 ปลัด อบต.
-           นายสมคิด  ตะวังทัน                   รองปลัด อบต.
-           นางจณิสดา ภิญโญ                     หัวหน้าสำนักปลัด
-           นางมานุตตา  พ่อธานี                  หัวหน้าส่วนการคลัง
-           นางทัศนีย์  อุทชัยยา                   หัวหน้าส่วนการศึกษา
-           นายชำนาญ   ต้นสวรรค์               รักษาราชการหัวหน้าส่วนโยธา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น